การผ่าตัดแก้ไขหน้าอก
การผ่าตัดแก้ไขหน้าอกทำได้เมื่อคุณไม่พึงพอใจกับขนาดหรือรูปร่างของหน้าอกหลังการเสริมหน้าอก หรือเมื่อเกิดพังผืด เต้าเทียมเคลื่อนที่หรือไม่สมมาตร การผ่าตัดแก้ไขหน้าอกมักทำได้ยากเนื่องจากจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์หาสาเหตุ และวิธีการผ่าตัดนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาในการผ่าตัดครั้งแรก ดังนั้น การผ่าตัดแก้ไขควรทำโดยศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์
สาเหตุของการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก
01เมื่อหน้าอกแน่นเนื่องจากเกิดพังผืด
02เมื่อคุณไม่พอใจกับขนาดหรือรูปร่าง
03ความไม่สมมาตรของหน้าอก
04เมื่อหน้าอกด้านบนปูดขึ้น
05เมื่อหน้าอกกระเพื่อมหรือผิดรูปทรง
06เมื่อต้องการเต้าเทียมประเภทอื่น ๆ
เวลาใดเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดแก้ไข
การผ่าตัดแก้ไขหน้าอกสามารถทำได้ราว ๆ 6 เดือนถึง 1 ปีหลังการผ่าตัดครั้งแรกเพราะว่าเนื้อเยื่อและขนาดของหน้าอกมักจะใช้เวลาราว ๆ 6 เดือนในการเข้ารูปหลังการผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตาม สามารถทำการผ่าตัดแก้ไขก่อนหน้าได้หากมีผลข้างเคียงรุนแรง ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อระบุเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัด
การผ่าตัดแก้ไขหน้าอกทำได้อย่างไร?
01การเกิดพังผืด
เราจะทราบว่าเกิดพังผืดได้เมื่อหน้าอกแข็งและกลมเหมือนลูกเบสบอล อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อรอบ ๆ เต้าเทียมแข็งตัวและเต้านมแข็งตัวและผิดรูป การเกิดพังผืดนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหุตที่พบบ่อยที่สุดคือการอักเสบ อาการห้อเลือดที่เกิดจากเลือดไหลและการติดเชื้อ วิธีการผ่าตัดแก้ไขขึ้นอยู่กับสภาพของอาการ
-
- การเกิดพังผืดในขั้นต่าง ๆ
- 1ขั้นที่ 1: รู้สึกนุ่มและเป็นธรรมชาติเหมือนว่าไม่มีปัญหาใด ๆ
- 2ขั้นที่ 2: หน้าอกนุ่มน้อยลงและเห็นเต้าเทียมได้ชัดแต่ไม่มีปัญหาภายนอกใด ๆ
- 3ขั้นที่ 3: หน้าอกดูแน่น เห็นเต้าเทียมได้ชัดและดูผิดรูป
- 4ขั้นที่ 4: หน้าอกแข็งผิดรูปและมีอาการเจ็บ
-
- วิธีศัลยกรรม
- มีการรักษาสำหรับการเกิดพังผืดซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการผ่าตัดแก้ไขดังต่อไปนี้: รักษาขั้นที่ 1-2 ด้วยยา และผ่าตัดแก้ไขสำหรับขั้นที่ 3-4
02รุปร่างที่ไม่น่าพึงพอใจ
-
- รุปร่างที่ไม่น่าพึงพอใจ
- เต้านมที่สวยงามหลังการผ่าตัดคือเต้านมรูปหยดน้ำ ไม่ใช่เต้านมที่ชี้เด่นออกมา ส่วนบนของเต้านมจะดูปูด หากไม่ได้ใส่เต้าเทียมไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง
-
- รอยย่นสองชั้น
- อาจเกิดรอยย่นสองชั้นขึ้นได้หากมีรอยย่นอีกรอยเกิดขึ้นใต้เต้านมซึ่งได้รับการเสริมเต้าเทียม มันเกิดขึ้นได้เมื่อทำการเสริมหน้าอกบนเต้านมที่หย่อนยานหรือมีการคาดคะเนขนาดหน้าอกผิดพลาดก่อนการผ่าตัด
-
- วิธีการผ่าตัด
- อาจแก้ไขได้ในบางส่วนหากดำเนินการหลังจากผ่าตัดได้ไม่นาน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพของเต้านม อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านไปสักพักแล้ว อาจต้องทำการปรับตำแหน่งเต้าเทียมให้เหมาะสมหรือถอดออกก่อนใส่เต้าเทียมใหม่หากมีอาการแพ้
03ขนาดที่ไม่ถูกใจ
คุณควรคำนึงถึงความสูง โครงสร้างร่างกาย สภาพทรวงอกก่อนตัดสินใจเลือกขนาดเต้าเทียม มิฉะนั้นคุณอาจได้รับขนาดหน้าอกที่ไม่น่าพึงพอใจและจำเป็นต้องทำการผ่าตัดแก้ไข
-
- วิธีการผ่าตัด
- อาจแก้ไขได้ในบางส่วนหากดำเนินการหลังจากผ่าตัดได้ไม่นาน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพของเต้านม อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านไปสักพักแล้ว อาจต้องทำการปรับตำแหน่งเต้าเทียมให้เหมาะสมหรือถอดออกก่อนใส่เต้าเทียมใหม่หากมีอาการแพ้
04หน้าอกที่ไม่สมมาตร
จะใส่เต้าเทียมใหม่ที่มีขนาดที่เหมาะสมให้หลังจากทำการวินิจฉัยทางการแพทย์แล้ว
-
- วิธีการผ่าตัด
- จะใส่เต้าเทียมใหม่ที่มีขนาดที่เหมาะสมให้หลังจากทำการวินิจฉัยทางการแพทย์แล้ว
05เต้าเทียมที่เสียหาย
เต้าเทียมแบบเจลยึดรุ่นใหม่มีอัตราความเสียหายต่ำลงเนื่องจากมีส่วนห่อหุ้มด้านนอกที่แข้งแกร่งกว่าเต้าเทียมรุ่นก่อน ในทางกลับกัน แบบซิลิโคนเหลวและแบบน้ำเกลือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีตมีอัตราการเสียหายสูง และอาจรั่วไหลแล้วทำให้หน้าอกผิดรูปทรงได้
-
- วิธีการผ่าตัด
- หากเต้าเทียมเป็นแบบน้ำเกลือ มันจะไม่มีปัญหาใด ๆ เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมน้ำเกลือได้ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเต้าเทียมซิลิโคน คุณจำเป็นต้องทำความสะอาดและกำจัดซิลิโคนที่รั่วไหลทั้งหมด แล้วทำการผ่าตัดแก้ไขโดยการถอดแคปซูลออกและใส่เต้าเทียมใหม่เข้าไปแทน
ระบบการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก
-
- การตรวจสอบรายละเอียดก่อนการผ่าตัด
- เพื่อทำให้การเสริมหน้าอกปลอดภัย เราจึงทำการตรวจก่อนการผ่าตัด (การตรวจเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ทรวงอก อัลตราซาวด์) เพื่อวิเคราะห์สุขภาพของลูกค้าและรูปทรงร่างกาย และปรับแผนการผ่าตัดเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของลูกค้า
-
- การให้คำปรึกษาเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมพลาสติก
- เราระบุประเภทและขนาดของเต้าเทียมที่เหมาะสมโดยการวิเคราะห์การกระจายตัวของเนื้อเยื่อหน้าอก จำนวนไขมันและความหนาของกล้ามเนื้ออย่างทั่วถึงผ่านการอัลตราซาวด์ การวัดประเภทร่างกายและขนาดซี่โครงด้วยการวิเคราะห์ร่างกายภายในก่อนการผ่าตัด
-
- ใช้อุปกรณ์การแพทย์เฉพาะสำหรับการเสริมหน้าอก
- ลอกเนื้อเยื่ออย่างแม่นยำโดยใช้กล้องเอนโดสโคปความละเอียดสูง HD และลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาทโดยการสอดเต้าเทียมอย่างแม่นยำและไม่สัมผัสเต้าเทียมโดยใช้ Keller Funnel
-
- วิธีการป้องกันการเกิดพังผืด
- เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่มักเกิดหลังการเสริมหน้าอก เราใช้วิธีการป้องกันการเกิดพังผืด (ทำความสะอาดพื้นที่ที่จะสอดเต้าเทียมด้วยสารละลายพิเศษเพื่อป้องกันการเกิดพังผืด ยาปฏิชีวนะผสม สารป้องกันการยึดติด)
-
- การวินิจฉัยอัลตราซาวด์หน้าอก
- การตรวจอัลตราซาวด์หน้าอกที่แม่นยำก่อนการเสริมหน้าอกเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของหน้าอกและเนื้อเยื่อทรวงอกเพื่อให้ผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ พร้อมทั้งการตรวจอัลตราวซาวด์หลังการผ่าตัด
-
- ใช้ ทีมงานดูแลหลังการผ่าตัดแบบ 1:1
- มอบการดูแลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องผ่านทีมงานมืออาชีพด้านการเสริมหน้าอกเพื่อทำให้ผลลัพธ์ของการผ่าตัดน่าพึงพอใจเป็นที่สุด